ตรวจสุขภาพ

Written by Super User on . Posted in health


ปัจจุบันสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม การใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไปทั้งในแง่การใช้แรงงานทำงานมาใช้สมองนั่งโต๊ะทำงาน การใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบทำให้เกิดความเครียด ขาดการออกกำลังกาย ขาดการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ขาดความสนใจต่อสุขภาพตัวทำให้เกิดโรคต่างๆซึ่งเกิดจากการไม่ดูแลตัวเองให้ดีเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกัน หรือลดอุบัติการณ์ได้โดยการที่เราใส่ใจดูแลตัวเอง เพียงใช้เวลาวันละประมาณ 1 ชั่วโมงก็สามารถทำให้สุขภาพดีขึ้น

คนไทยทุกวันนี้รักสุขภาพมากขึ้นจะเห็นได้จากกระแสการใช้สมุนไพร การนวด spa ชาเขียว อาหารเสริมต่างๆ การตรวจสุขภาพต่างๆ ทั้งที่อาจจะไม่มีรายงานว่าได้ผลจริงทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและเสียงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน

ในความหมายของคนทั่วไปการตรวจสุขภาพคือไปพบแพทย์และตรวจตามโปรแกรมตามที่แพทย์หรือโรงพยาบาลเสนอ ในความเป็นจริงการตรวจสุขภาพตนเองควรจะเริ่มต้นโดยตัวเองสำรวจสุขภาพตนเองได้แก่

คำแนะนำให้ทำเป็นประจำ

-          ความตระหนักเกี่ยวกับความปลอดภัยในการขับขี่รถ เนื่องจากพบว่าการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ

-          การใช้สารเสพติด การสูบบุหรี่

-          การบริโภคอาหารสุขภาพ

-          การออกกำลังกาย

-          การพักผ่อน

-          การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

-          ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง

-          ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

-          ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแข็ง

-          ปัจจัยเสียงต่อการเกิดโรคไต

-          คุณอ้วนไปหรือไม่ ดัชนีมวลกายเป็นเท่าไร

-          การดูแลช่องปาก

-          การจัดการเกี่ยวกับความเครียด

การพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ

แม้ว่าคุณจะดูแลสุขภาพของคุณอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม ยังมีความจำเป็นสำหรับคนบางประเภทที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง สมควรที่จะได้พบกับแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและเจาะเลือด สภานพยาบาลหลายแห่งจึงจัดรายการตรวจสุขภาพ ทั้งการตรวจหาโรคหัวใจ การตรวจหาโรคมะเร็งซึ่งการตรวจบางอย่างเกินความจำเป็น

ควรจะตรวจสุขภาพตั้งแต่อายุเท่าใด

ในความเป็นจริงเราเริ่มต้นตรวจสุขภาพตั้งแต่แรกเกิดเลย จะเห็นได้ว่าหลังจากคลอดคุณหมอจะนัดพาเด็กไปตรวจสุขภาพชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศีรษะและฉีดวัคซีนป้องกันโรค แต่สำหรับผู้ใหญ่ที่แข็งแรง ไม่มีโรคทางกรรมพันธุ์ในครอบครัวก็อาจจะจะเริ่มต้นตรวจเมื่ออายุ 35 ปี แต่หากคุณเป็นคนอ้วน มีประวัติเบาหวานในครอบครัว ประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจของญาติสายตรง ไขมันสูงในครอบครัวหรือเจ็บป่วยบ่อยก็อาจจะเริ่มต้นตรวจที่อายุน้อยกว่านี้บางประเทศ เช่นในอเมริกาแนะนำให้ตรวจไขมันในเลือดตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ส่วนเรื่องความถี่ก็ขึ้นกับสิ่งที่ตรวจพบหากพบว่ามีโรคหรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคก็อาจจะต้องตรวจถี่ หากไม่เสี่ยงก็อาจจะตรวจทุก 3-5 ปี

จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

หากต้องการเจาะเลือดควรจะงดอาหารไปอย่างน้อย 8 ชั่วโมงหากต้องการตรวจไขมันในเลือดควรจะงดอาหาร 12 ชั่วโมง หากไม่ได้ตรวจไขมันหรือน้ำตาลก็ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร หลังจากเจาะเลือดก็ไปรับประทานอาหาร สิ่งที่สำคัญคือคุณต้องทำตัวเหมือนปกติก่อนตรวจไม่ควรที่จะควบคุมตัวเองเป็นพิเศษเพื่อที่จะให้ผลตรวจออกมาดี ไม่ควรกังวลหรือดื่มสุรก่อนการตรวจ การอดอาหารหมายถึงอาหารทุกอย่างทั้งน้ำชา กาแฟ นมดื่มได้เฉพาะน้ำเท่านั้น ม่ควรจะออกกำลังกายก่อนการเจาะเลือดเพราะมีผลต่อการตรวจเลือด

แพทย์เขาจะตรวจอะไรบ้าง

การตรวจร่างกายโดยทั่วไปจะเริ่มต้นซักประวัติ

-          สุขภาพโดยทั่วไป

-          ประวัติโรคในครอบครัวเพื่อค้นหาโรคทางพันธุกรรม

-          ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต

-          ประวัติการใช้ยา

-          การตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณดัชนีมวลกาย ตรวจร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า สำหรับผู้หญิงก็แนะนำเรื่องการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง และการตรวจภาย

การเจาะเลือดเขาตรวจดูอะไรบ้าง

โดยปกติก็จะมีการตรวจเลือด CBC,LFT,Lipid,Creatinin,Urine analysis,X-ray แต่หากคุณต้องการตรวจอย่างอื่นให้ปรึกษาแพทย์ ตารางที่แสดงข้างล่างจะแสดงชื่อโรค วิธีการตรวจ และข้อบ่งชี้ในการตรวจ

โรคที่อยากรู้

รายการตรวจ

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ

การวัดความดันโลหิต

ความดันโลหิต

18-35ปีให้วัดทุก 2 ปี

มากกว่า35ปีให้วัดทุกปี

การวัดสายตา

วัดสายตา

ผู้ที่อายุมากกว่า 40ปีให้ตรวจทุกปี

การตรวจเต้านม มะเร็งเต้านม

การตรวจเต้านมโดยแพทย์

20-40ปีให้ตรวจทุก 3 ปี

มากกว่า 40ปี ให้ตรวจทุกปี

การตรวจรังสีเต้านม

Mamography

ควรทำในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี

ญาติสายตรงที่เป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งรังไข่

การตรวจทางทวารหนัก มะเร็งลำไส้ใหญ่

การใช้นิ้วล้วงก้น

ผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีให้ตรวจทุก 3 ปี

ภาวะโลหิตจาง

CBC

ตรวจสุขภาพทุกครั้ง

การตรวจแยกฮีโมโกลบิน

Hemoglobin typing

ก่อนการแต่งงาน

การตรวจปัสสาวะ

การตรวจปัสสาวะ

ตรวจสุขภาพทุกครั้งทุกวัย

ตรวจพยาธิ

ตรวจอุจาระ

ทุกวัยให้ตรวจทุก 3-5 ปี

โรคเบาหวาน

ระดับน้ำตาลในเลือด

ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

ไขมันในเลือด

เจาะหาไขมัน

ผู้ที่เสี่ยงต่อไขมันในเลือดสูง

ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี(20ปี สำหรับอเมริกา)

การทำงานของตับ

Liver function test

 

ไต

BUN Creatinin(Cr)

 

หัวใจ

ตรวจหาระดับน้ำตาล

ระดับน้ำตาลในเลือด

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

X-ray ปอดและหัวใจ

การตรวจโดยการวิ่งสายพาน

Cardiac enzyme

ควรจะทำใน กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

โรคเก๊าท์

Uric acid

 

การตรวจความหนาแน่นกระดูก

Bone density

ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย

มีญาติสายตรงเป็นโรคกระดูกพรุน

ได้รับยาที่อาจจะเป็นโรคกระดูกพรุน เช่น steroid

ต่อมลูกหมาก

PSA

 

การตรวจภายใน

PV

ควรจะตรวจทุก 1 ปี

ต่อมไทรอยด์

Thyroid function test

ควรจะตรวจในรายที่เคยผ่าตัดธัยรอยด์ หรือได้รับไอโอดีนกัมมันตรังสี

โรคเอดส์

เจาะเลือดตรวจเอดส

เจาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค

การตรวจอัลตราซาวนด์ตับ

Ultrasound

ผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบบี

ผู้ที่เป็นโรคตับ

การตรวจความดันตา โรคต้อหิน

การตรวจตาสำหรับประชาชน

ตรวจทุก 1 ปี

สำหรับผู้ที่มีโรคเสี่ยง เช่น ต้อหิน สายตาสั้นมาก เบาหวาน

เริ่มตรวจเมื่ออายุมากกว่า40 ปี

 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตรวจสุขภาพ

การตรวจสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไปหมายถึงการเจาะเลือดเมื่อทราบผลว่าไม่เป็นโรคก็สบายใจ แต่ในความเป็นจริงหากเขาอยู่ในความเสี่ยงของการเกิดโรคเขาจะต้องป้องกันเพื่อมิให้โรคนั้นเป็นกับตัวเขา ดังตัวอย่าง คนที่มีพ่อหรือแม่เป็นเบาหวาน ดังนั้นเขาจะมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานเมื่อผลเลือดบอกไม่เป็นเบาหวานแทนที่เขาจะปรับฟฤติกรรมเพื่อป้องกันเบาหวาน แต่เขาก็ยังใช้ชีวิตแบบสบายๆ ไม่คุมน้ำหนักไม่ออกกำลังกาย หากดำรงชีวิตแบบเก่าสักวันหนึ่งเขาก็จะเป็นเบาหวาน

หรือคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเอดส์เมื่อผลเลือดปกติก็ควรที่จะลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแต่เขาก็ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ หรือคนที่ดื่มสุราเจาะเลือดเพื่อตรวจดูว่าเป็นโรคตับหรือยังเมื่อผลเลือดปกติ เขาก็ยังดื่มสุราอยู่ การตรวจสุขภาพดังกล่าวไม่น่าจะมีผลดีต่อผู้ป่วย